“บุตรนอกกฎหมาย” ที่บิดารับรองแล้ว (โดยพฤตินัย) ตามมาตรา 1627

ปพพ. มาตรา 1627


            บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม ให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายนี้

มีบุคคล 3 ประเภทที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน

  1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึง บุตรนอกกฎหมายที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว สถานะคือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
  2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัย
  3. บุตรบญธรรม

ผลของการเป็นผู้สืบสันดาน ถือว่าเป็นทายามโดยธรรมตามกฎหมายจะทำให้เกิดสิทธิในการรับมรดก ,รับมรดกแทนที่ (ตามมาตรา 1639 และ 1643)และร้องจัดการมรดกได้

พฤติการณ์ที่ถือเป็นการรับรองโดยพฤตินัย มีดังนี้

  1. ให้ใช้นามสกุล
  2. ส่งเสียเลี้ยงดู
  3. ให้การศึกษา
  4. ให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  5. มีชื่อเป็นบิดาในใบสูติบัตร*** (ไม่ใช่การจดทะเบียนรับรองบุตร และไม่มีผลทำให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518   

โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.พฤติการณ์ที่ บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูกับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ ถือได้ว่า บ.ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.

และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2538 (ค้นหาเพิ่มเติม)

 มาตรา 1639  

“ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย

หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย

ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่

ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน

ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่

และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

ทค.ว